แนวทางการยกเว้นขอใบอนุญาตการทำงานของชาวต่างชาติ ปี 2566

Thai Work Permit

แม้ในสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญกับภัยโรคระบาด หรือวิกฎติทางเศรษฐกิจ ภูมิทัศน์ทางธุรกิจของประเทศไทยก็ยังคงมีความตื่นตัว และน่าสนใจอยู่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และด้วยความพยายามจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่จะฟื้นตัวขึ้นจากความไม่แน่นอน เศรษฐกิจของประเทศไทยจะกลับมาเดินหน้าต่อได้ไม่นานเกินรอ

เนื่องจากประเทศไทยเปิดโอกาสทางการงานและการลงทุนมากมายให้แก่ชาวต่างชาติ และได้มีการเปิดประเทศไปเมื่อเร็วๆนี้ ชาวต่างชาติหลายคนอาจจะกำลังพิจารณาเริ่มต้นธุรกิจในไทย หรือทำงานกับบริษัทในประเทศไทยอยู่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการจะทำงานใดๆก็ตามในประเทศไทย ชาวต่างชาติจะต้องขอใบอนุญาตทำงาน โดยมีบริษัทผู้ว่าจ้างคอยช่วยเหลือในการดำเนินการก่อนที่จะเริ่มทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ชาวต่างชาติที่สนใจมาทำงานในไทยควรทราบว่าไม่ใช่ทุกบริษัทในประเทศไทยที่จะสามารถขอใบอนุญาตทำงานให้กับพนักงานต่างชาติได้ การที่บริษัทจะสามารถดำเนินการขอใบอนุญาตได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขตรงตามที่กระทรวงแรงงานกำหนด

คุณสมบัติและเงื่อนไขโดยทั่วไปได้แก่:

  • มีทุนจดทะเบียนบริษัทอย่างน้อย 2 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาตทำงาน สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในไทยและมีผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นชาวไทย
  • มีพนักงานชาวไทยอย่างน้อย 4 คนต่อการขอใบอนุญาตทำงานให้แก่ชาวต่างชาติ 1 คน
  • หากไม่ใช่บริษัทที่จดทะเบียนในไทย จะต้องมีเงินทุนจากต่างประเทศอย่างน้อย 3 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาตทำงาน

อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขเหล่านี้ไม่ส่งผลต่อนิติบุคคลต่างชาติที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ได้ระบุกรณียกเว้นที่ชาวต่างชาติไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตทำงานหากเป็นผู้มีคุณสมบัติ หรือวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานในประเทศไทยตามเงื่อนไขที่ได้ชี้แจงไว้

ชาวต่างชาติประเภทใดที่ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย?

1. ผู้แทนรัฐบาล และผู้แทนทางการทูต

  1. สมาชิกคณะผู้แทนทางการทูต
  2. สมาชิกคณะผู้แทนทางการกงสุล
  3. ผู้แทนจากประเทศสมาชิก และเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติและหน่วยงานพิเศษ
  4. ผู้ช่วยส่วนตัวที่เดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลในข้อ a., b., และ c.
  5. บุคคลที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้มีการตกลงกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศอื่นๆ หรือองค์การระหว่างประเทศ
  6. บุคคลที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประเทศในด้านการศึกษา, วัฒนธรรม, ศิลปะ, กีฬา และอื่นๆตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา
  7. บุคคลที่ได้รับการอนุญาตจากคณะรัฐมนตรีให้ปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในประเทศไทย

2. ผู้ที่เข้ามาประเทศไทยเพื่อดำเนินภารกิจเร่งด่วน ภารกิจที่ใช้เวลาสั้น และภารกิจที่มีความจำเป็น

บุคคลต่างชาติที่เข้ามายังประเทศไทยภายใต้กรณีพิเศษนี้ เพื่อปฏิบัติภารกิจที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน จะสามารถดำเนินภารกิจในประเทศไทยได้เป็นเวลาสูงสุด 15 วันโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน ถึงอย่างนั้นชาวต่างชาติจะต้องได้รับอนุญาต และมีหนังสือยืนยืนจากกระทรวงแรงงานก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย

ชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตภายใต้เงื่อนไขนี้สามารถเข้าประเทศไทยโดยใช้วีซ่าประเภทใดก็ได้ ทั้งนี้ ความหมายของคำว่า ‘ภารกิจที่จำเป็นและเร่งด่วน’ ค่อนข้างมีความกำกวม ดังนั้นกรณีส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้มีอำนาจตัดสินใจ

กิจกรรมดังต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินภารกิจเร่งด่วน ใช้เวลาสั้น และมีความจำเป็น: 

  • การเข้าร่วมประชุม สัมมนา เยี่ยมชมธุรกิจ หรืองานบรรยายต่างๆ
  • การปฏิบัติงานด้านเทคนิค เช่น การซ่อมแซมและติดตั้งเครื่องจักรกล การสาธิตและทดสอบเครื่องมือกล เป็นต้น
  • การจัดหางานต่างประเทศ เช่น การหาคนทำงาน และการทดสอบทักษะ
  • การให้บริการทางกฎหมาย เช่น ปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ
  • ภารกิจอื่นๆตามที่ได้รับเห็นชอบจากผู้มีอำนาจตัดสินใจ

3. นักลงทุน และผู้ก่อตั้งธุรกิจต่างชาติในประเทศไทย

ชาวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อปฏิบัติงานภายใต้การส่งเสริมจาก BOI สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ก่อน จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการขอใบอนุญาตทำงานภายในเวลา 30 วัน โดยชาวต่างชาติสามารถปฏิบัติภารกิจของตนได้ระหว่างที่รอการอนุมัติจาก BOI และใบอนุญาตทำงานที่ออกโดยกระทรวงแรงงาน

นอกจากนี้ ตัวแทนของนิติบุคคลต่างชาติภายใต้พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตทำงาน ซึ่งตัวแทนเหล่านี้อาจรวมถึงกรรมการ ผู้บริหารและผู้จัดการระดับสูง เป็นต้น ที่ปฏิบัติงานในนิติบุคคลต่างประเทศ เช่นสำนักงานผู้แทน หรือสำนักงานสาขาที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

4. ผู้ที่ได้รับ Smart Visa

ในปี 2564 รัฐบาลไทยได้มีการเริ่มต้นโครงการ Smart Visa เพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีทักษะสูง และมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขให้เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งหากได้รับอนุมัติโดย BOI และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติและครอบครัวที่ได้รับวีซ่าประเภทนี้จะสามารถปฏิบัติงานในไทยได้เป็นเวลาไม่เกิน 4 ปี โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงาน 

โครงการ Smart Visa ถูกแบ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่ด้วยกัน ที่ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติสามารถเลือกสมัครได้ตามความเหมาะสม โดยทั้ง 5 หมวดหมู่นี้ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ (Talents) นักลงทุน (Investors) ผู้บริหาร (Executives) สตาร์ทอัพ (Startups) และคู่สมรสและบุตรของผู้ที่ถือ Smart Visa

นอกจากนี้ ชาวต่างชาติที่สนใจสมัครจะต้องมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เกษตรกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เป็นต้น ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Smart Visa ได้จากเว็บไซต์ของโครงการ

ทั้งนี้ ช่าวตางชาติที่ปฏิบัติงานในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และไม่ได้มีคุณสมบัติหรือเงื่อนไขที่ได้รับการยกเว้นขอใบอนุญาตทำงาน จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย

นโยบายยกเว้นการขอใบอนุญาตทำงานนี้ช่วยให้ชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ระบุไว้สามารถลงทุน และทำงานในประเทศไทยได้สะดวกสบายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ระเบียบบางอย่างมีความซับซ้อนและมีรายละเอียดที่ไม่ชัดเจน ผู้สนใจควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายในประเทศไทย เพื่อช่วยให้กระบวนการต่างๆราบรื่นและรวดเร็วยิ่งขึ้น โปรดติดต่อเราเพื่อประเมินความต้องการและคุณสมบัติของคุณ เพื่อนำเสนอทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับคุณ

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog