คำแนะนำเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0

โดยหลักทั่วไป ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) ใช้บังคับการขายสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาตามหลักกฎหมายอย่างเคร่งครัด ประมวลรัษฎากรไทยใช้ระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในการขายสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ แต่จะใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 แทนที่จะยกเว้นภาษีทั้งหมด ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือ เนื่องจากการทำธุรกรรมดังกล่าวนั้นไม่ได้รับการยกเว้นภาษี กรมสรพพากรสามารถปรับอัตราภาษีได้ในภายหลัง ในขณะนี้มาตราที่ 80/1 แห่งประมวลรัษฎากรได้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการส่งออกสินค้าและบริการ (ได้รับการยกเว้นบางกรณี) และการให้บริการในประเทศไทยที่นำไปใช้ประโยชน์ที่ต่างประเทศ (เช่น การส่งออกบริการ) ในเรื่องของการส่งออกบริการ กรมสรรพากรมีการออกคำแนะนำว่าประเภทของการให้บริการต่อไปนี้จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นการใช้บริการในต่างประเทศและต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0

  • การให้บริการบางส่วนที่เกิดขึ้นในประเทศและมีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
  • การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล การขนส่งระหว่างประเทศที่รวมถึงผู้ที่มีเรือขนส่งสินค้าที่ใช้เส้นทางการเดินเรือ แต่ไม่ได้เข้ามาเทียบท่าในประเทศไทย และผู้ที่มีเส้นทางการเดินเรือภายในประเทศไทย
  • นโยบายการประกันภัยทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศหรือสินค้าที่มีการส่งออก
  • การให้บริการที่ถูกเสนออยู่ในเขตการค้าเสรีในประเทศไทยหมายถึงสำหรับการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก รวมถึงสินค้าที่ผลิตโดยบุคคลอื่นหรือผู้ประกอบการเอง
  • “การให้บริการ” ตามความหมายในมาตราที่ 80/1 กล่าวถึง การกระทำใด ๆ ที่ส่งผลให้เกิดการได้มาซึ่งการยกเว้นมูลค่าการขายสินค้าและการให้บริการการท่องเที่ยวในต่างประเทศ

เพื่อใช้สิทธิภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0 ตามกฎที่กล่าวข้างต้น ผู้ประกอบการต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้:

  • หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชำระราคาค่าสินค้าตามใบกำกับสินค้า(Invoice) ในนามของผู้ประกอบการ เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทำ T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) ใบเสร็จรับเงิน การชำระเงินที่มีหลักฐานเป็นเอกสารตามการเปิด L/C (Letter of Credit)
  • หรือเอกสารแสดงสถานะทางการเงิน หรือ Bank Statement ที่ระบุการโอนเงิน หลักฐานแสดงว่าได้รับการชำระเงินผ่านทาง E-Money หรือ E-Cash

กฎข้อบังคับเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0 นั้นมีความซับซ้อน ผู้ประกอบการในประเทศไทยควรได้รับการปรึกษาจากทนายความที่มีความสามารถก่อน

 

Category: กฎหมายปกครอง

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog