การปฏิบัติตามข้อตกลงการห้ามประกอบธุรกิจแข่งขันกับนายจ้าง

ลักษณะที่พบได้บ่อยในการสัญญาจ้างแรงงานบรรดาผู้บริหารระดับสูงคือข้อตกลงการห้ามประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง ข้อตกลงดังกล่าวมักกำหนดให้เมื่อสัญญาการจ้างงานยุติลง ห้ามพนักงานประกอบธุรกิจแข่งขัน ภายในระยะเวลาที่กำหนด ข้อสัญญาโดยทั่วไปจะกำหนดระยะเวลาหนึ่งต่อจากเวลาที่สัญญาจ้างแรงงานยุติและมักกำหนด ห้ามมิให้ลูกจ้างเป็นพนักงานในบริษัทที่อื่น อันเป็นคู่แข่งของนายจ้าง หรือ ถือครองหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจแข่งกับนายจ้าง ในประเทศไทย ศาลได้มีการสนับสนุนข้อตกลงการห้ามค้าแข่ง นอกจากนี้เพื่อการร่างข้อตกลงการห้ามค้าแข่งที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีผลบังคับใช้จะต้องพิจารณาต่อไปนี้

ข้อตกลงดังกล่าวควรเป็นข้อห้ามเฉพาะการประกอบธุรกิจแข่งขันกับนายจ้างภายในช่วงเวลาอันจำกัด และควรระบุประเภทธุรกิจที่ห้ามอย่างชัดเจน และต้องไม่เป็นข้อห้ามพนักงานมิให้ได้รับรายได้จากการทำงาน โดยสิ้นเชิง ดังนั้น พนักงานจะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหรือทำงานกับบริษัทที่อยู่นอกขอบเขตของข้อห้าม

โดยทั่วไป ข้อตกลงการห้ามค้าแข่งจะระบุว่า หากพนักงานฝ่าฝืนข้อห้าม เขาหรือเธอจะต้องจ่ายค่าปรับให้กับนายจ้างชดใช้ความเสียหายของนายจ้าง เนื่องจากการฝ่าฝืนข้อตกลง อย่างไรก็ตาม จำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงกับนายจ้างจะอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของศาลแรงงาน

ข้อตกลงห้ามพนักงานประกอบธุรกิจแข่งขันไม่ว่าจะ “ทางตรง” หรือ “ทางอ้อม” นั้นสามารถใช้ข้อบังคับได้ตามกฎหมาย ยอกจากนี้ยังสามารถระบุว่าพนักงานคนใดห้ามมี “ส่วนเกี่ยวข้อง” ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม การพัฒนาสินค้าและบริการสำหรับบริษัทคู่แข่งขัน ซึ่งเหมือนกันกับผลิตภัณฑ์และบริการที่พนักงานได้ทำงานในช่วงเวลาที่ทำงานให้กับนายจ้าง

ในกรณีข้อตกลงการห้ามค้าแข่งถูกระบุรวมอยู่ในสัญญาจ้างแรงงาน ข้อสัญญาส่วนอื่นๆในสัญญาจ้างแรงงานจะตกเป็นโมฆะ จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของส่วนอื่นๆที่ยังมีผลบังคับเพราะฉะนั้นข้อตกลงการห้ามค้าแข่งที่สมบูรณ์ จะสามารถใช้บังคับได้ แม้ว่าส่วนอื่นของสัญญาจ้างแรงงานจะถือว่าไม่เป็นโมฆะ

กฎหมายแรงงานไทยมีความซับซ้อน การประกอบธุรกิจต่างชาติต้องได้รับความช่วยเหลือในการร่างสัญญาจ้างแรงงานและข้อตกลงการห้ามค้าแข่งควรได้รับคำปรึกษากับทนายความผู้ที่มีความสามารถเสียก่อน

 

Category: กฎหมายแพ่ง, การฟ้องร้อง

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog