การค้าระหว่างประเทศโดยปราศจากการจัดจำหน่ายในประเทศไทย

นอกจากจะเป็นสถานที่ใช้ประกอบธุรกิจแล้ว บริษัทต่างชาติยังเลือกประเทศไทยเป็นเขตอำนาจศาลเพื่อก่อตั้งธุรกิจ โดยไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างแท้จริงในบางกรณี เหตุผลที่บริษัทต่างชาติต้องการก่อตั้งบริษัทตนในประเทศไทย แต่ประกอบธุรกิจที่อื่นนั้น หลากหลายและซับซ้อน และอาจเกี่ยวข้องกับกฎหมายการประกอบธุรกิจของไทยเหนือเขตอำนาจศาลอื่น หรือเพียงเพราะทำเลที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยนั้นเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ซึ่งควบคุมดูแลการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจและการประกอบธุรกิจต่างชาติในประเทศไทยได้ออกความคิดเห็นให้คำปรึกษาในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ซึ่งได้กล่าวถึงประเด็นการดำเนินการค้าระหว่างประเทศของบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำถามที่ว่าบริษัทต่างชาติต้องมีใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ พ.ศ. 2542 หรือไม่เพื่อมีส่วนร่วมในการค้าระหว่างประเทศโดยสินค้าที่ถูกจำหน่ายไม่เข้าสู่ประเทศไทย ในส่วนของด้านล่างนี้จะเป็นรายละเอียด

บริษัท A เป็นบริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนในประเทศไทย และบริษัท B เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นต้องการทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ผ่านผู้แทนจำหน่ายด้านเภสัชกรรมในประเทศเวียดนาม (ผู้ซื้อ) โดยสัญญาจะระบุชื่อทั้งบริษัท A และบริษัท B เป็นผู้ขาย

ข้อตกลงดังกล่าว ความรับผิดชอบจะถูกแบ่งออกดังนี้: บริษัท A จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการสื่อสารและเจรจากับผู้ซื้อ รับคำสั่งซื้อ และส่งคำสั่งซื้อไปยังบริษัท B ส่วนบริษัท B นั้นมีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการตามคำสั่งซื้อโดยสินค้าที่จะไม่เข้าสู่ประเทศไทย บริษัท A จะได้รับการชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อและแบ่งรายได้ให้แก่บริษัท B

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) มีข้อความเห็นว่าการประกอบธุรกิจตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นถือว่าเป็นการจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศโดยที่สินค้านั้นไม่ได้นำเข้ามาในประเทศไทย การประกอบธุรกิจดังกล่าวนั้น มิใช่ประเภทธุรกิจที่ถูกจำกัดตามบัญชีท้าย พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ บริษัท A จึงสามารถประกอบธุรกิจโดยปราศจากใบอนุญาตประกอบธุรกิจได้ ไม่ว่าในกรณี มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติฯ กำหนดให้ธุรกิจต่างชาติที่มิได้ถูกจำกัดตามพระราชบัญญัติประกอบกิจการ มีเงินทุนขั้นต่ำในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท โดยยังไม่รวมถึงจำนวนเงินทุนขั้นต่ำอื่นๆ ตามที่กฎหมายอื่นกำหนด

กฎหมายในการประกอบธุรกิจต่างชาตินั้นมีความซับซ้อน นักลงทุนชาวต่างชาติควรได้รับการปรึกษากับทนายความในประเทศไทยที่มีความสามารถก่อนเริ่มต้านการดำเนินการธุรกิจในประเทศไทย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเรา หรือโทร. 02-254-8900

Category: กฎหมายธุรกิจ, กฎหมายปกครอง

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog