พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ: การฝากขายสินค้าในประเทศไทย

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายพื้นฐานในประเทศไทยที่ทำหน้าที่ในการจำกัดการลงทุนและการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติภายในประเทศ พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดอุตสาหกรรมเฉพาะหรือประเภทของการประกอบธุรกิจที่ห้ามมิให้ชาวต่างชาติประกอบธุรกิจอย่างเด็ดขาด หรือจะประกอบธุรกิจได้ เมื่อได้รับใบอนุญาตเท่านั้น อุตสาหกรรมหรือการประกอบธุรกิจใดมิได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ จะเปิดโอกาสในแก่ชาวต่างชาติโดยไม่ต้องยื่นขอใบอนุญาตใดๆ อย่างไรก็ตาม มีความคลุมเครือบางอย่างเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบางประเภท ตัวอย่างเช่น กฎหมายจำกัดธุรกิจการค้าปลีก-ส่ง โดยมีมูลค่าการใช้ทุนขั้นต่ำ 100 ล้านบาท ประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจคือ พระราชบัญญัติฉบับนี้มีการจำกัดธุรกิจการฝากขายสินค้าหรือไม่ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 กมพัฒนาธุรกิจการค้า (ดีบีดี) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการบังคับตามพระราชบัญญัติ ออกความคิดเห็นให้คำปรึกษา ต่อไปนี้:

  • การขายสินค้าโดยความเป็นเจ้าของของสินค้านั้นถูกโอนโดยตรงจากผู้ขายไปยังผู้บริโภค หมายถึง “การขายปลีก” สอดคล้องกับภาคผนวกที่ 3 (14) ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ
  • การขายสินค้าโดยความเป็นเจ้าของของสินค้านั้นถูกโอนจากผู้ขายไปยังผู้แทนจำหน่ายเพื่อขายต่อ หมายถึง “การขายส่ง” สอดคล้องกับภาคผนวกที่ 3 (15) ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ
  • การขายสินค้าผ่านทาง “เคาน์เตอร์” ซึ่งสินค้าจะอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าของสินค้าที่เป็นผู้ฝากขายสินค้าและวางสินค้าให้กับผู้รับฝากขายสินค้า เมื่อผู้รับสินค้าได้ทำการจำหน่ายสินค้าเรียบร้อยแล้ว กรรมสิทธ์ของสินค้านั้นถูกโอนไปยังผู้ซื้อสินค้าและผู้รับฝากขายสินค้าได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของค่านายหน้า นอกจากนี้ผู้ฝากขายสินค้าได้รับเฉพาะราคาซื้อขายสินค้าที่เขาได้ระบุไว้เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงราคาที่ผู้รับฝากขายได้ขายสินค้าไป ดังนั้น การขายโดยใช้วิธีการฝากขายสินค้าจะถูกพิจารณาเป็นรูปแบบการขายปลีก ตามความหมายของภาคผนวกที่ 3 (14) และไม่ใช่การขายส่งตามความหมายของภาคผนวกที่ 3 (15) ตั้งแต่กรรมสิทธ์ได้ถูกโอนไปยังผู้ซื้อที่เป็นผู้บริโภคไม่ใช่ผู้แทนจำหน่ายรายอื่น

ดังนั้น เพื่อให้มีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจการขายโดยวิธีการฝากขายสินค้า บริษัทต่างชาติต้องมีการใช้เงินทุนจำนวนไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท หรือยื่นขอใบอนุญาตสำหรับการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ

แม้กฎหมายธุรกิจของไทยมีความซับซ้อน เศรษฐกิจประเทศไทยมีแนวโน้มจะขยายตัว เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน นักลงทุนต่างชาติที่สนใจการประกอบธุรกิจในประเทศไทยควรได้รับการปรึกษาจากทนายที่มีความสามารถของประเทศไทย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเรา หรือโทร. 02-254-8900

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog