ข้อกำหนดสกุลเงินตราต่างประเทศสำหรับซื้อห้องชุด

พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ซึ่งถูจำกัดการถือครองห้องชุดโดยชาวต่างชาติในประเทศไทย แต่โดยทั่วไปจะอนุญาตให้ชาวต่างชาติที่เป็นผู้อยู่อาศัยถาวร หรือผู้ที่เดินทางเข้าประเทศด้วยวีซ่าการส่งเสริมการลงทุน หรือผู้ที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการโอนหรือการถอนสกุลเงินตราต่างประเทศ ข้อบังคับของกรมที่ดินเรื่องการถือครองห้องชุดของชาวต่าวด้าว พ.ศ. 2547 ได้วางข้อกำหนดเกี่ยวกับสกุลเงินตราต่างประเทศ ไว้ดังนี้

ผู้ซื้อชาวต่างชาติต้องแสดงหลักฐาน (1) การส่งสกุลเงินตราต่างประเทศข้ามาในประเทศไทย (2) การถอนสกุลเงินไทยจากบัญชีของบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศ หรือ (3) การถอนเงินจากบัญชีสกุลเงินตราต่างประเทศในจำนวนเงินไม่น้อยกว่าราคาซื้อขายห้องชุดที่มีความประสงค์จะทำการซื้อ

ในส่วนของตัวเลือกแรก จะเกี่ยวกับการส่งสกุลเงินตราต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย หลักฐานที่อาจยื่นให้แก่สำนักงานกรมที่ดินเพื่อจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ มีดังนี้

  • แบบสำแดงเงินตราต่างประเทศที่ออกโดยกรมศุลกากร (ในกรณีที่นำสกุลเงินตราต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย) หรือ
  • กรณีที่นำสกุลเงินตราต่างประเทศถูกส่งเข้ามาในประเทศโดยการโอนผ่านธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน ถ้าเงินที่โอนมีจำนวนตั้งแต่ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นไปหรือเทียบเท่าสามารถยื่นหลักฐานแบบฟอร์มการโอนเงินต่างประเทศได้ แต่ในกรณีจำนวนเงินนั้นน้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถยื่นหลักฐานจากธนาคารที่รับรองการซื้อสกุลเงินตราต่างประเทศ หรือการโอนสกุลเงินต่างประเทศเข้าบัญชีเงินฝากต่างประเทศ

ในส่วนตัวเลือกที่สอง การถอนเงินสกุลไทยจากบัญชีของบุคคลที่อาศัยอยู่นอกประเทศ ระเบียบได้นิยามว่าหมายถึงบัญชีธนาคารของบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศ โดยไม่คำนึงถึงว่าบัญชีธนาคารนั้นจะเป็นของผู้ซื้อชาวต่างชาติหรือไม่ก็ตาม หลักฐานที่ต้องการคือ หนังสือรับรองจากธนาคารที่รับรองการถอนเงินสกุลไทยออกจากบัญชีเงินฝากของบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศ

ในส่วนตัวเลือกที่สาม คือ การถอนเงินจากบัญชีสกุลเงินตราต่างประเทศ ในกรณีที่การถอนเงินเกิดขึ้นหลังจาก 1 เมษายน พ.ศ. 2547 หลักฐานจะเหมือนกับในกรณีการส่งสกุลเงินตราต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทยโดยการโอนเงินผ่านธนาคาร

ชาวต่างชาติที่สนใจจะลงทุนในห้องชุดที่ตั้งอยู่ในของประเทศไทยควรได้รับคำปรึกษาจากทนายความที่มีความสามารถเพื่อให้การดำเนินงานนั้นอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย

 

Category: กฎหมายทรัพย์สินและที่ดิน

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog